FAQ

คำถามที่พบบ่อย

ข้อควรรู้ก่อนการทาสี

ข้อควรรู้ก่อนการทาสี

สำหรับเพื่อนๆคนใดกำลังมองหาวิธีทาสีบ้านแบบมืออาชีพอ่านกันทางนี้ การที่จะทาสีบ้านให้สวยและทนนาน ก็ต้องเริ่มจากการเลือกใช้สีที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และวันนี้เกร็ดความรู้เลยมีวิธีการทาสีบ้านที่ถูกต้องและ
ครบตามขั้นตอนมาฝากกัน…
ขั้นแรก : การเตรียมพื้นผิว
ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากที่สุด เพราะการเตรียมพื้นผิวอย่างถูกต้อง จะทำให้สีที่ทาลงไปมีความสวยงาม
กลมกลืนเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนทาสีทุกครั้งต้องทำความสะอาดคราบฝุ่นคราบไขมันบนพื้นผิว
ก่อนด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หากมีราหรือตะไคร่น้ำต้องกำจัดด้วยน้ำยา
ฆ่าเชื้อ หากเป็นผนังปูนเก่าและสีเดิมอยู่ในสภาพหลุดล่อนชำรุด ต้องขัดล้างสีเก่าออกก่อนให้หมด
เมื่อเตรียมพื้นผิวเสร็จแล้ว ต้องทิ้งให้แห้งสนิทก่อนที่จะทาสีใหม่ และหากมีรอยแตกร้าว ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน
ขั้นที่สอง : การทาสีรองพื้น
สีรองพื้น คือ สีที่ใช้ทาบนพื้นผิวก่อนทาสีจริงทับหน้า เพื่อช่วยให้สีทับหน้ายึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีและป้องกัน
ความเสียหายจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสีทับหน้ากับพื้นผิว
พื้นผิวปูน : หากเป็นปูนใหม่ รองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ เพื่อปรับสภาพพื้นผิวคอนกรีตใหม่ และชิ้นงานต่าง ๆ ที่มีค่าความเป็นด่างสูง ช่วยเพิ่มการกลบพื้นผิวดีเยี่ยม หากเป็นปูนเก่า
รองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนเก่า เพื่อเคลือบผนังปูนที่สีเก่าเสื่อมสภาพเป็นฝุ่นผงหรือหลุดลอกให้กลับมีสภาพดี
ช่วยเสริมการยึดเกาะกับสีทับหน้าได้อย่างมีคุณภาพและคงทน
พื้นผิวไม้ : รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้เพื่อป้องกันยางไม้หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ไม่ให้ซึมออกมา
ผสมกับสีทับหน้า ทั้งยังช่วยปรับสภาพพื้นผิวไม้ให้เรียบเนียนเพิ่มความสวยเงางามของสีทับหน้า
พื้นผิวเหล็ก : สีรองพื้นช่วยป้องกันการเกิดสนิม และช่วยเสริมการยึดเกาะของสีทับหน้า
ขั้นสุดท้าย : การทาสีทับหน้า
สีทับหน้าหรือสีชั้นนอก มีเฉดสีต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ควรทาทับหน้า 2-3 ครั้ง โดยทิ้งระยะให้สีที่ทาครั้งแรกแห้งสนิทเสียก่อนจึงทาทับครั้งต่อไป เมื่อเพื่อนๆอ่านบทความนี้จบอาจบอกว่า การทาสีไม่ยากอย่างที่คิด ยังไงลองนำวิธีที่แนะนำปฏิบัติตามกันดูได้

สีทนไฟ DUFIRESHIELD 682 (FIRE RESISTANCE)

สีทนไฟ DUFIRESHIELD คืออะไร?

สีทนไฟ สีกันความร้อน สูตร Du Fire Shield พัฒนาสูตรพิเศษเฉพาะจาก Durachem ที่คิดค้นผสมคุณสมบัติให้สีเพิ่มความทนไฟให้โครงสร้างเหล็ก อาคาร โรงงาน หรือโกดัง โดยสีจะช่วยเพิ่มความทนไฟได้นานขึ้น 1-3 ชั่วโมง ป้องกันการสูญเสียหากเกิดอัคคีภัยได้อย่างมาก สีทนไฟเป็นสีสูตรน้ำ จึงเคลือบติดไปกับชั้นรองพื้นผิวโลหะหรือโครงสร้าง เหมาะที่จะใช้สีกันความร้อนทาโครงสร้างภายใน ได้ทั้งผิวงานที่สามารถติดไฟและไม่ติดไฟ มีความยืดหยุ่นสูง
เมื่อเกิดความร้อนฟิล์มสีทนไฟจะเกิดการพองตัวเป็นโฟมชั้นหนาเพื่อป้องกันไฟไม่ให้กระทบเสาโครงสร้างโดยตรง และช่วยในการชะลอความร้อนไม่ให้แพร่กระจายความเสียหาย นอกจากนี้สีทนไฟ Du Fire Shield ยังมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยลดการลุกไหม้บริเวณพื้นผิวของวัสดุที่สามารถติดไฟได้ ผ่านมาตรฐานอัคคีภัย ASTM-E119 ที่ 2 ชั่วโมง 5 นาที พร้อมผ่านการผลทดสอบจากศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สีทนไฟดูไฟล์ชิลล์ 682 ขนาดบรรจุเท่าไหร่

สีทนไฟดูไฟล์ชิลล์ 682 มีขนาดบรรจุ 20 กิโลกรัม

สีทนไฟดูไฟล์ชิลล์ 682 หนึ่งถังทาได้กี่ตารางเมตร

สำหรับการทาปกติ สามารถทาได้ 100-110 ตารางเมตรต่อเที่ยว ความหนาประมาณ 100-160 ไมครอน

แต่หากต้องสร้างความหนาให้ผ่านเกณฑ์การทนไฟ คือต้องทาความหนาที่ 500-1000 ไมครอน จะทาได้ 7-14 ตารางเมตร 

ต้องการทาสีทับหน้าบนสีทนไฟ ดูไฟล์ชิลล์ 682 สามารถทำได้หรือไม่

สามารถทำได้ ถ้าทาทับหน้าด้วยสีสูตรน้ำ รอสีทนไฟดูไฟล์ชิลล์แห้งตัวประมาณ 12-24 ชั่วโมง

หากต้องการทาทับหน้าด้วยสีน้ำมัน ต้องรอ 7-15 วัน

สีทนไฟดูไฟล์ชิลล์ สามารถทาบนไม้ ได้หรือไม่

สามารถทาได้ และจะป้องกันการลามไฟที่ผิวไม้ด้วย

สีทนไฟดูไฟล์ชิลล์ มีเฉดสีอะไรบ้าง

มีเฉดสีขาวเป็นมาตรฐาน

หากต้องการสีอื่นสามารถระบุได้ แต่ราคาอาจจะขึ้นอยู่กับเฉดสีนั้น ๆ ด้วย 

พื้นอีพ็อกซี่

หลักสำคัญในการทำพื้นอีพ็อกซี่คือ?

  • พื้นต้องไม่มีความชื้น หรือมีความชื้นที่น้อย
  • พื้นที่มีสีอีพ๊อกซี่เดิมอยู่ พื้นกระเบื้องยางที่ลอก ต้องทำการขัดและเก็บให้เรียบร้อยก่อนทำพื้นใหม่
  • ทาตัวป้องกันความชื่นก่อนเพื่อป้องกันความชื่นที่อาจจะยังมีหลงเหลืออยู่ที่เรียกว่า มอยซ์เจอร์แบริเออร์ (Moisture barrier)
  • ขัดผิวหน้าให้ที่พื้นที่เรียบ และมีที่ยึดเกาะ
  • ใช้ตัวปรับระดับพื้น หรือที่เรียกว่า อีพ็อกซี่ มอต้า (Epoxy Mortar)
  • กลิ้ง หรือ เทปาด ตามระบบที่ได้กล่าวไปแรก

สีทาพื้นอีพ็อกซี่คือ?

อีพ็อกซี่เป็นสีทาพื้นโรงงาน เป็นแบบที่ต้องผสมสองส่วนในอัตราที่กำหนด และยังแบ่งออกเป็น สองระบบในการทำงานอีกด้วย แบบที่หนึ่งเรียกกันว่าอีพ็อกซี่ โค้ทติ้ง และ อีกแบบเรียกว่า อีพ็อกซี่ เซวเลเวลริ่ง ทั้งสองแบบมีความแต่ต่างกันอยู่ที่วิธีการทำงาน
แบบแรกเป็นแบบที่ใช้วิธีการทาแบบกลิ้งลงบนพื้นเหมือนสีทั่วไปแต่หลักสำคัญคือต้องเทสีลงบนพื้นที่แล้วก็ทา เราจะใช้วิธีจุ่มและทาแบบสีทาบ้านไม่ได้ เนื่องจากสีจะทำปฏิกิริยากันหลังจากผสมกัน แล้วก็เกิดการแข็งตัวหากไม่ได้ใช้งาน จะทำให้ทำงานได้ไม่ทัน
อีกแบบเป็นแบบที่ค่อนข้างต้องการผู้ที่ มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน เนืองจากต้องมีการปาดสีให้ไหลไปเคลือบพื้นที่ โดยที่สีจะไหลไปได้สมบูรณ์ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ทำด้วย

สีน้ำมันพาโคแล็ค PACOLAX

สีน้ำมันพาร์โคแล็ค ต่างจากสีน้ำมันทั่วไปอย่างไร

สีน้ำมันพาราโคแล็คเป็นสีประเภทยึดเกาะได้ทุกพื้นผิว มีความทนทานแสงแดดได้ดี และผิวมีความแข็งมากกว่าสีเกรดทั่วไปในท้องตลาด มีเนื้อปกปิดผิวได้สูง


สีน้ำมันพาร์โคแล็ค สามารถทาบนพื้นผิวอะไรได้บ้าง

สามารถทาบนพื้นปูน พื้นไม้ และสามารถทาบนกระเบื้องหลังคาได้ดี

+