ปัญหาสีด่างเกิดคราบเกลือสีขาว (EFFLORESCENCE)

ปัญหาสีด่างเกิดคราบเกลือสีขาว (Efflorescence)

โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นบริเวณพื้นผิวคอนกรีต อิฐปูน หรือหินธรรมชาติ ที่เกลือสามารถซึมผ่านไปยังพื้นผิวได้ โดยมีความชื้นเป็นตัวกระตุ้น เกิดเป็นคราบสีขาวตามผนังหรือรอยแตกร้าว มองดูคล้ายสีด่างหรือสีซีด ถ้ารุนแรงมากจะมองเห็นเป็นคราบขี้เกลือพอกเป็นสีขาวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับผนังสีเข้ม หรือสีสด ๆ

สาเหตุ

  • ทาสีทับบนผนังปูนที่ยังมีความชื้นสูงและยังแห้งไม่ดีพอ
  • ทาสีทับหน้า ในขณะที่สีรองพื้นยังไม่แห้งสนิทดี
  • การบ่มตัวของปูนไม่สมบูรณ์ จึงทำให้มีด่างและความชื้นสูง
  • น้ำซึมเข้าไปที่ผนังตามรอยแตกร้าว แล้วละลายเกลือที่อยู่ในปูนออกมา เมื่อน้ำระเหยตัวไปจึงเกิดคราบเกลือเป็นผลึกเล็ก ๆ ตามแนวรอยแตกของปูน
  • ใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น นำสีรองพื้นปูนเก่ามาใช้กับผนังปูนใหม่ 
  • ใช้สีรองพื้น หรือสีทับหน้า คุณภาพต่ำ ที่อาจมีคุณสมบัติทนด่างเกลือได้น้อย

แนวทางการแก้ไข

  • ทำการขัดล้างคราบเกลือออกด้วยน้ำสะอาด แล้วทิ้งให้แห้งสนิทอย่างน้อย 1-2 วัน หากปัญหาไม่รุนแรงคราบเกลือจะหายไป แต่วิธีการดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราวซึ่งอาจจะกลับมาได้เสมอถ้าผนังยังคงมีความชื้นหรือรอยแตกร้าว ดังนั้นหากต้องการหยุดปัญหาแนะนำให้ทำการซ่อมแซมผนัง แล้วทาสีใหม่ตามระบบที่ถูกต้องจะดีที่สุด
  • กรณีมีรอยแตกร้าวให้อุดโป๊วรอยแตกร้าวด้วยวัสดุอุดโป๊วตามขนาดรอยแตกที่เหมาะสม เช่น DUCLAUK สำหรับรอยแตกลายงาไม่เกิน 1-2 มม.  แล้วขัดแต่งให้เรียบด้วยกระดาษทราย
  • เมื่อขัดล้าง และอุดโป๊วเรียบร้อยแล้ว ให้ทาสีรองพื้นปูนให้เหมาะสมกับประเภทพื้นผิวปูน แนะนำให้ใช้สีรองพื้นอเนกประสงค์ DUPRIMER  สูตรน้ำ จำนวน 1 เที่ยว แล้วทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง
  • ทาสีทับหน้าเกรดสูงอย่าง DUFLEX จำนวน 2 เที่ยว

related

+